st. patricks day
cherry blossom

วันศุกร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2553

หน้าที่ครูบาอาจารย์

หน้าที่ของครูบาอาจารย์นี้เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ในการที่จะสร้างคนพลเมืองทั้งหลายให้เป็นคนดีหรือคนชั่ว
เพราะครูอาจารย์เปรียบเหมือนน้ำย้อมผ้า ก็ย่อมติดเป็นสีนั้น ๆ อย่างไม่มีป้ญหา เพราะฉะนั้นเพื่อพัฒนาประ
ชาชนให้เป็นพลเมืองดี อันจะเป็นผลให้ประเทศชาติ ศาสนา ตลอดทั้งโลกมีความเจริญรุ่งเรือง ร่มเย็น มี
ความสงบสุข ตัวผู้เป็นครูอาจารย์ จึงสมควรมีหน้าที่ที่ต้องประพฤติปฏิบัติเป็นประจำ ๑๑ ประการ คือ
๑ แนะนำดี
๒ ให้เล่าเรียนดี
๓ บอกศิลปวิทยาให้สิ้นเชิง ไม่ปิดบังอำพราง
๔ ยกย่องให้ปรากฏในเพื่อนฝูงและประชาชน
๕ ทำความป้องกันในทิศทั้งหลาย
๖ คั้งจิตประกอบด้วยพรหมวิหาร
๗ สอนดีและคุ้มครองดี ด้วยอุบายวิธีต่าง ๆ
๘ ต้องฉลาดในการชี้แจงเหคุผล
๙ หัดให้ศิษย์มีนิสัยรักงาน
๑๐ ตั้งใจวิจารณ์เหตุผลที่ปรากฏเฉพาะหน้า
๑๑ ต้องอบรมให้มีกำลังใจ
จาก เขมกะ

วันพฤหัสบดีที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2553

จัดเลี้ยงฝีพาย

วันนี้ ผมเอาภาพการจัดเลี้ยงฝีพายในพระราชพิธีฉลองครองราชย์ครบ 60 ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาฝากครับ เป็นการจัดเลี้ยงบริเวณสะพานพระราม 8


วันจันทร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2553

กิเลส

คำว่า กิเลส แปลว่า เหตุแห่งความชั่ว หรือความมัวหมอง กิเลสตระกูลใหญ่ ๆ ที่มีอิทธิพลต่อจิตใจมากที่สุด มีอยู่ ๓ ตระกูล
คือ
โลภะ มีอกุศลจิตคิดอยจกได้ในทางมิชอบ
โทสะ ความเป็นผู้มีอารมณ์ฉุนเฉียวเกรี้ยวกราด
โมหะ ความโง่เขลา ไม่รู้เท่าทันด้วยอำนาจอวิชชา พาให้หลงผิดทำให้ "เห็นกงจักรเป็นดอกบัว เห็นชั่วเป็นดี"
ทางขจัดกิเลส
กิเสสเหล่านี้มีในผู้ใด ทำให้ผู้นั้นหมดเสน่ห์ พึงหาทางขจัดและแก้ไขเสีย
ด้วยทาน การเสียสละ
ด้วยเมตตา ปรารถนาให้เกิดสุข
ด้วยปํญญา หยั่งให้ถึงซึ่งความพ้นทุกข์
เพราะ
ปัญญา นะรานัง ระตะนัง ปัญญาเป็นแก้วของนรชน
ปัญญา โลกัสะมิง ปัชโชโต ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก
ผู้มีปัญญาย่อมนำพาชีวิตให้พ้นวิกฤตได้ ดังพระท่านประพันธ์ไว้ว่า
มีปัญญาพาตนให้พ้นผิด รู้จักคิดเหตุผลพ้นกังขา
ทำอะไรเหมาะเจาะเพราะปัญญา ช่วยรักษาตัวตนให้พ้นภัย
จากบทบรรยายธรรม พระราชธรรมวาที
ขอขอบพระคุณทุกท่านที่ติดตาม เจริญพร

วันพฤหัสบดีที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2553

หนทางสร้างสงบ ๔

หลักปฏิบัติหรือมรรควิธีที่จะยังใจให้เกิดุข มี ๔ วิธี ดังนี้
๑. รู้จักพอ พอเหมาะ พอควร พอดี มีสันโดษ ไม่โลภเกินขอบเขต "พอใจตามที่มี ยินดีตามที่ได้" ไม่ทุกข์
๒. รู้จักให้ เสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม รู้จักให้ไม่ตระหนี่ กำจัดมัจฉริยะ และความเห็นแก่ตัว
๓. รู้จักปล่อยวาง สละ ละ วาง เช่น ไก่สลัดขน คนสลัดผ้า วางลงปลงตก จิตจะรู้สึกอิสระเบาบาง ปลอดโปร่ง
๔. เห็นทุกอย่างเป็นธรรมดา สุข ทุกข์ ได้ เสีย สมหวัง ผิดหวัง ดีใจ เสียใจ ล้วนธรรมดาทั้งนั้น
ยังกิญจิ สะมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมัง สิ่งใดเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดย่อมดับไปเป็นธรรมดา
ไม่มีอะไรนอกเหนือไปจากธรรมดา เกิดก็ธรรมดา แก่ก็ธรรมดา เจ็บก็ธรรมดา ตายก็ธรรมดา ผู้ใดเข้าถึงหลัก
ธรรมดาได้ ผู้นั้นชื่อว่า "ได้ดวงตาเห็นธรรม" ก้าวเข้าสู่กระแสแห่งนิพพาน
จากบทบรรยายธรรม พระราชธรรมวาที