st. patricks day
cherry blossom

วันพุธที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553

เมล็ดพันธ์ของการกระทำ

การเกิดของเรานี้ไม่ต่างอะไรกับการงอกของเมล็ดพันธ์ตันไม้ ซึ่งจะสมบูรณ์เจริญเติบโตขึ้นมาอย่างไรนั้น ก็ขึ้นอยู่กับพันธุกรรมของเมล็ดนั้นและสภาพแวคล้อม ภูมิอากาศ อาหารฯ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่เอื้อในการเจริญเติบโตของต้นไม้ สำหรับเมล็ดพันธุ์ไม้ที่เจริญงอกมาได้นั้น มีทั้งลำตันที่เจริญเติบโตแข็งแรงดี แต่บางต้นก็แคระแกรน ตายไปตั้งแต่รากแก้วยังไม่แข็งแรง เปรียบดั่งสัตว์ทั้งหลาย ที่สิ้นอายุไปเสียแต่เยาว์วัย บางจำพวกแม้รอดมาได้ก็ไม่สมบูรณ์ทางด้านร่างกาย นั่นเป็นเพราะกรรม ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ที่จะเสกสรรค์บันดาล ให้เป็นไปตามอำนาจของมัน แต่สิ่งที่กำหนดผลลัพธ์ของกรรมในปัจจุบันนี้คือ การคิดและตัดสินการกระทำในอดีต เช่นกันกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับเราในอนาคต ก็ต้องมาจากการกระทำของเราในปัจจุบัน การทำปัจจุบันให้ดี ก็เท่ากับ การที่เราสามารถกำหนดอนาคตของเราได้ด้วยตัวเราเอง ไม่ต้องพึ่งพิงการช่วยเหลือจากเทพ เทวดาองค์ใดเลย เมื่อย้อนนึกดู ข้าพเจ้าชอบคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ว่า เหตุของความทุกข์ของสัตว์ทั้งหลายนั้น ล้วนมีที่มาจากความไม่รู้ ซึ่งรวมได้ถึงความไม่รู้ในกรรมของตน เหตุของความเป็นไปทั้งในอดีตและปัจจุบัน ความไม่รู้นี้เองได้ปิดกั้นทำให้สัตว์ทั้งหลายต่างลองผิดลองถูก อยู่นับชาตินับภพไม่ถ้วน และกระทำกรรมอันดีชั่วมากมาย ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ ก็ทำให้ประสบความทุกข์ยากไปต่างๆ นาๆ แม้ในบางครั้งจะได้รับความสุขบ้าง แต่ความสุขที่ได้นั้นก็ไม่อาจจะอยู่เที่ยงแท้ถาวร หาไม่ ความสุขนั้นกลับเป็นเชื้อ ในการแสวงหาสร้างความทุกข์ให้กับตัวเองในอนาคตอีกก็มี สำหรับบางคนที่ชอบโทษโชคชะตาที่ชีวิตของตัวเอง ว่าต่ำต้อยไร้ค่าเมื่อเทียบกับคนอื่นซึ่งมีฐานะดีกว่าและสร้างแรงกดดันบีบเค้นน้อยใจ จนไม่สามารถสร้างความสุขให้กับชีวิตได้เลย นั่นเพราะเรามัวแต่เงยหน้ามองสิ่งที่อยู่สูงกว่า หากแต่ไม่เคยก้มหน้ามองดูสิ่งที่ต่ำกว่าตามพื้นดินบ้าง ว่าเราโชคดีแค่ไหนที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ในชาตินี้ มีสัตว์เดรัจฉานมากมายตามพื้นดิน ที่ใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก บางจำพวกมีชีวิตเพียงเป็นอาหารให้กับมนุษย์ และก็ลาโลกนี้ไป โดยที่ไม่ได้สัมผัสสิ่งที่เรียกว่าอิสระภาพ เหมือนกับที่มนุษย์ได้รับ เวลาของมนุษย์บนโลกนี้ ช่างน้อยนักท่านทั้งหลาย อย่าพึงใช้เวลาอันน้อยนี้ดูถูกตัวเองและผู้อื่น จงดิ้นรนไขว่ขว้าหาสิ่งที่ประเสริฐสูงสุดในกรอบของศิลธรรม ให้การช่วยเหลือมนุษย์และสัตว์ด้วยความเมตตาบ้าง เพื่อสร้างเมล็ดพันธุ์ของการกระทำที่ดีงามต่อกันเถิด...นะ

วันศุกร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ฟังไม่ได้ศัพท์ จับเอามากระเดียด

ความหมาย ยังไม่ทันรู้รายละเอียด แต่เอามาเป็นเรื่องจริงจัง
ภาษิตคำกลอน
หมายถึงคน ฟังเรื่อง ที่เขาเล่า
ยังไม่เข้า ถึงแก่น แม่นขมัง
ยังไม่รู้ รายละเอียด อย่างจริงจัง
เขาก็ยัง เอามาเล่า เอาเป็นจริง
อธิบาย
บุคคลบางคนมีนิสัยไม่ไตร่ตรองให้รอบคอบก่อน ได้ยินได้ฟังเรื่องอะไร
ก็ไม่ไตร่ตรอง ไม่พิจารณา ไม่ใคร่ครวญ ไม่สอบสวนหาความจริงก่อน
รีบนำมาตีแผ่ขยายความออกไปทันที นำความเสียหายมาสู่ตนเอง
และส่วนรวม

วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

แพะรับบาป

ความหมาย
คนผู้รับกรรมแทนการกระทำของผู้อื่น
ภาษิตคำกลอน
หมายถึงผู้ รับกรรม แทนผู้อื่น
ไม่แช่มชื่น เต็มใจ อะไรหนา
รู้ตัวเอง ไม่ได้ทำ อะไรมา
แต่ทว่า ได้รับเคราะห์ เป็นเพราะกรรม
อธิบาย
บุคคลบางคน ถึงคราวเคราะห์หามยามร้าย ไม่เคยทำความผิดเลย
ตั้งแต่เกิดมา แต่อยู่ดี ๆ ก็มีเจ้าหน้าที่มาจับกุม บอกว่าไปทำผิด
อย่างนั้น ๆ มีพยานหลักฐานมัดตัว แม้จะแก้ตัว มีพยานหลักฐาน
ประกอบเท่าไรก็แก้ไม่ตก จึงต้องรับกรรมแทนคนอื่นไป

วันเสาร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

เข้าด้ายเข้าเข็ม

เวลาที่มีความสำคัญและมีความคับขัน
เป็นภาษิตคำกลอน ดังนี้
หมายถึงกาล เวลา สำคัญยิ่ง
คับขันจริง ยิ่งคิด ยิ่งสับสน
ว่าจะทำ อย่างไร กับใจตน
ดับเครื่องชน ให้แหลก หรือแยกกัน
อธิบายว่า
ในบางครั้งบางคราว บางเวลา บางเหตุการณ์ มีจุดเด่น หรือจุด
ล่อแหลมต่อบุคคล หรือต่อชีวิต ทั้งที่เป็นส่วนดี และส่วนเสีย
เช่น ความรักจวนจะสมปรารถนาอยู่รอมร่อ และเหตุการณ์จวน
จะถึงขั้นแตกหักกันอยู่แล้ว จึงเรียกว่า เวลาเข้าด้ายเข้าเข็ม

วันพฤหัสบดีที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

เจ้าชู้ไก่แจ้

หมายถึง ผู้ที่ชอบแต่งตัวดี เดินกรีดกรายไปมา ไม่กล้าเกี้ยวพาราสี
ดังภาษิต
หมายถึงคน สนใจ ในหญิงอื่น
แต่งตัวชื่น ชอบใจ ฝักใฝ่หา
แสดงท่า กรีดกราย เดินไปมา
แต่ไม่กล้า ออกปากเกี้ยว แค่เหลียวมอง
อธิบาย
บุคคลบางคน มีนิสัยชอบผู้หญิง แต่ไม่กล้าไปพูดจาเกี้ยวพาราสี
กลัวเขาจะไม่พูดด้วย กลัวจะเสียหน้า จึงได้แต่แต่งตัวดี ๆ แต่งตัว
หล่อ ๆ หวีผมทาแป้งแล้วไปเดินผ่าน เดินกรีดกรายทำท่าทาง
กระดิกกระดี้ให้หมู่สตรีเขาแลมองเท่านั้นเอง

วันเสาร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2553

คนงามเพราะแต่ง

คนเราจะสวยงาม อยู่ที่แต่งกายดี แต่งใจดี กิริยามารยาทงาม ดังภาษิตนี้
คนน่ายล เพราะผล ของการแต่ง
ทั่วทุกแห่ง ต้องเติม และเสริมสวย
แต่งตัวดี มีเสน่ห์ ยิ้มเร่รวย
คนหมดสวย หากเปลื้องผ้า หมดค่าคน
อธิบาย ถ้าคนไม่รู้จักแต่งตัว เช่น หน้าไม่ล้าง ผมไม่สระไม่หวี
ไม่ใส่เสื้อผ้าก็จะดูไม่ได้เลย ถ้าอยากสวยจึงจำเป็นต้องแต่งตัว
เช่น ชำระร่างกายให้สะอาด ใส่เสื้อผ้าที่สวยงาม แต่งทรงผม
และทาปากบ้าง จึงมีคำพูดกันว่า ไม่เสริมก็ไม่สวย และต้อง
มีศีลธรรมนำกาย วาจา ใจด้วย จะสวยยิ่งขึ้น

วันพุธที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ไก่งามเพราะขน

ไก่จะสวยงามน่ารัก อยู่ที่มีขนห่อหุ้ม ดังภาษิตคำกลอน ดังนี้
ไก่น่ายล เพราะมีขน มาปกปิด
ดึงดูดจิต ชูชิด เสน่หา
ไก่มีขน ยลแล้ว แจ๋วงามตา
หมดราคา ถ้าไก่ ขนไม่มี
อธิบาย
ไก่ทุกชนิดทุกประเภทจะมีขนเป็นเครื่องประดับตัว ยิ่งขนนั้นมีลวดลาย
มีสีสันเป็นมันเงา ทั้งเป็นระเบียบเรียบร้อย มีส่วนโค้งงออ่อนน้อม เช่น
ขนหางไก่ตัวผู้ ก็ยิ่งเพิ่มความสวยงาม และเพิ่มเสน่ห์ให้แก่ตัวมันเอง
ทำให้มีราคาแก่ตัวมันเองมากยิ่งขึ้น

วันจันทร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2553

คนงาม

คนจะงาม งามน้ำใจ ใช่ใบหน้า
คนจะสวย สวยจรรยา ใช่ตาหวาน
คนจะแก่ แก่ความรู้ ใช่อยู่นาน
คนจะรวย รวยศึลทาน ใช่บ้านโต

วันศุกร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2553

วันอังคารที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

หน้าที่ศิษย์

เมื่อศิษย์ได้รับความอนุเคราะห์ช่วยแนะนำสั่งสอนจากครูอาจารย์ใด ก็ควรปฏิบัติบำรุงครูอาจารย์นั้น
โดยตอบแทนอุปการะคุณท่านด้วยการทำตามหน้าที่ดังต่อไปนี้

๑. ลุกขึ้นยืนรับ
๒. เข้าไปยืนคอยรับใช้
๓. เชื่อฟังและปฏิบัติตามคำสั่งสอนของครูอาจารย์
๔. อุปฐากบำรุงครูอาจารย์
๕. ตั้งใจเรียนศิลปวิทยาโดยเคารพ
๖. ต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของสำนักเรียนนั้นๆ
๗. ต้องช่วยทำการงานของโรงเรียน ตามที่ครูอาจารย์มอบหมายให้ด้วยความเต็มใจ
๘. ต้องช่วยระวังรักษาสมบัติของโรงเรียน
๙. ต้องมีความรักใคร่เพื่อนนักเรียน
๑๐.ต้องช่วยระวังรักษาสมบัติของเพื่อนนักเรียน
๑๑.ต้องมีอิทธิบาทสี่เป็นธรรมประจำใจ
- ฉันทะ มีความพอใจ
- วิริยะ มีความพากเพียร อดทน บากบั่น
- จิตตะ เอาใจฝักใฝ่ในวิชาที่เรียนนั้น
- วิมังสา พิจารณาหาเหตุผลในวิชาที่เรียน

บทความโดย:พระสุธรรมเมธี.เขมกะ

วันศุกร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2553

หน้าที่ครูบาอาจารย์

หน้าที่ของครูบาอาจารย์นี้เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ในการที่จะสร้างคนพลเมืองทั้งหลายให้เป็นคนดีหรือคนชั่ว
เพราะครูอาจารย์เปรียบเหมือนน้ำย้อมผ้า ก็ย่อมติดเป็นสีนั้น ๆ อย่างไม่มีป้ญหา เพราะฉะนั้นเพื่อพัฒนาประ
ชาชนให้เป็นพลเมืองดี อันจะเป็นผลให้ประเทศชาติ ศาสนา ตลอดทั้งโลกมีความเจริญรุ่งเรือง ร่มเย็น มี
ความสงบสุข ตัวผู้เป็นครูอาจารย์ จึงสมควรมีหน้าที่ที่ต้องประพฤติปฏิบัติเป็นประจำ ๑๑ ประการ คือ
๑ แนะนำดี
๒ ให้เล่าเรียนดี
๓ บอกศิลปวิทยาให้สิ้นเชิง ไม่ปิดบังอำพราง
๔ ยกย่องให้ปรากฏในเพื่อนฝูงและประชาชน
๕ ทำความป้องกันในทิศทั้งหลาย
๖ คั้งจิตประกอบด้วยพรหมวิหาร
๗ สอนดีและคุ้มครองดี ด้วยอุบายวิธีต่าง ๆ
๘ ต้องฉลาดในการชี้แจงเหคุผล
๙ หัดให้ศิษย์มีนิสัยรักงาน
๑๐ ตั้งใจวิจารณ์เหตุผลที่ปรากฏเฉพาะหน้า
๑๑ ต้องอบรมให้มีกำลังใจ
จาก เขมกะ

วันพฤหัสบดีที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2553

จัดเลี้ยงฝีพาย

วันนี้ ผมเอาภาพการจัดเลี้ยงฝีพายในพระราชพิธีฉลองครองราชย์ครบ 60 ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาฝากครับ เป็นการจัดเลี้ยงบริเวณสะพานพระราม 8


วันจันทร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2553

กิเลส

คำว่า กิเลส แปลว่า เหตุแห่งความชั่ว หรือความมัวหมอง กิเลสตระกูลใหญ่ ๆ ที่มีอิทธิพลต่อจิตใจมากที่สุด มีอยู่ ๓ ตระกูล
คือ
โลภะ มีอกุศลจิตคิดอยจกได้ในทางมิชอบ
โทสะ ความเป็นผู้มีอารมณ์ฉุนเฉียวเกรี้ยวกราด
โมหะ ความโง่เขลา ไม่รู้เท่าทันด้วยอำนาจอวิชชา พาให้หลงผิดทำให้ "เห็นกงจักรเป็นดอกบัว เห็นชั่วเป็นดี"
ทางขจัดกิเลส
กิเสสเหล่านี้มีในผู้ใด ทำให้ผู้นั้นหมดเสน่ห์ พึงหาทางขจัดและแก้ไขเสีย
ด้วยทาน การเสียสละ
ด้วยเมตตา ปรารถนาให้เกิดสุข
ด้วยปํญญา หยั่งให้ถึงซึ่งความพ้นทุกข์
เพราะ
ปัญญา นะรานัง ระตะนัง ปัญญาเป็นแก้วของนรชน
ปัญญา โลกัสะมิง ปัชโชโต ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก
ผู้มีปัญญาย่อมนำพาชีวิตให้พ้นวิกฤตได้ ดังพระท่านประพันธ์ไว้ว่า
มีปัญญาพาตนให้พ้นผิด รู้จักคิดเหตุผลพ้นกังขา
ทำอะไรเหมาะเจาะเพราะปัญญา ช่วยรักษาตัวตนให้พ้นภัย
จากบทบรรยายธรรม พระราชธรรมวาที
ขอขอบพระคุณทุกท่านที่ติดตาม เจริญพร

วันพฤหัสบดีที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2553

หนทางสร้างสงบ ๔

หลักปฏิบัติหรือมรรควิธีที่จะยังใจให้เกิดุข มี ๔ วิธี ดังนี้
๑. รู้จักพอ พอเหมาะ พอควร พอดี มีสันโดษ ไม่โลภเกินขอบเขต "พอใจตามที่มี ยินดีตามที่ได้" ไม่ทุกข์
๒. รู้จักให้ เสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม รู้จักให้ไม่ตระหนี่ กำจัดมัจฉริยะ และความเห็นแก่ตัว
๓. รู้จักปล่อยวาง สละ ละ วาง เช่น ไก่สลัดขน คนสลัดผ้า วางลงปลงตก จิตจะรู้สึกอิสระเบาบาง ปลอดโปร่ง
๔. เห็นทุกอย่างเป็นธรรมดา สุข ทุกข์ ได้ เสีย สมหวัง ผิดหวัง ดีใจ เสียใจ ล้วนธรรมดาทั้งนั้น
ยังกิญจิ สะมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมัง สิ่งใดเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดย่อมดับไปเป็นธรรมดา
ไม่มีอะไรนอกเหนือไปจากธรรมดา เกิดก็ธรรมดา แก่ก็ธรรมดา เจ็บก็ธรรมดา ตายก็ธรรมดา ผู้ใดเข้าถึงหลัก
ธรรมดาได้ ผู้นั้นชื่อว่า "ได้ดวงตาเห็นธรรม" ก้าวเข้าสู่กระแสแห่งนิพพาน
จากบทบรรยายธรรม พระราชธรรมวาที

วันพุธที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2553

หลักประชาธิปไตยต้องไม่เบียดเบียนกัน

เพราะฉนั้น ท่านทั้งหลาย เมื่อท่านต้องการความสุข ต้องไม่สร้างทุกข์ให้แก่ใคร โดยถือหลักปฏิบัติตามคติธรรมที่ว่า
อัพะยาปัชชัง สุขัง โลเก การไม่เบียดเบียนกันเป็นสุขในโลก หมั่นเตือนตนไว้เสมอไม่พึงมุ่งหวังเอาชนะคะคานซึ่งกันและกัน
ในทางมิชอบ พึงยึดหลักไว้เสมอว่า "อย่าพูดให้ใครช้ำ อย่าทำให้ใครเคือง" ปัญหาทุกอย่างในบ้านเมืองล้วนแก้ไขได้
หากมุ่งหวังที่จะเป็นประชาธิปไตย จงลดอัตตาธิปไตยลง ระวังอย่าใช้กิเลสาธิปไตย คือ เอาความถูกใจพอใจของตนเป็นหลัก
แต่จงถือธรรมาธิปไตย คือ ความถูกต้องเป็นแนวทาง มิเช่นนั้นจะก่อให้เกิดปัญหาขึ้น ดังที่พระท่านสอนให้เตือนตนไว้เสมอ
ว่า
เตือนใคร ไม่ดีเท่า เราเตือนตัว
ฝึกอะไร ไม่ดีเท่า เราฝึกตัว
ฟ้องใคร ไม่ดีเท่า เราฟ้องตัว
ตัดสินใคร ไม่ดีเท่า เราตัดสินตัว
ดูอะไร ไม่ดีเท่า เราดูตัว
รู้อะไร ไม่ดีเท่า เรารู้ตัว
ชนะใคร ไม่ดีเท่า เราชนะตัว
จากบทบรรยายของ พระราชธรรมวาที

วันเสาร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2553

วัคซีนธรรม กันทุกข์

บัณฑิตแต่โบราณท่านกล่าวไว้น่าคิดตอนหนึ่งว่า "มีลูกไว้พึ่งพา มีศาสนาไว้พึ่งใจ" ทั้งนี้ก็เพื่อจะให้ชีวิตมีที่พึ่งที่ยิดเหนี่ยว ศีลธรรมทางศาสนานั่นแหละ
คือยอดของโอสถหรืออาหารใจ
ท่านทั้งหลายอย่าเพลินแต่แสวงหาอาหารบำเรอกาย จนลืมเติมอาหารบำรุงใจ มิฉะนั้นจะกลายเป็นว่า "อิ่มเพียงท้องแต่พร่องทางใจ" ตรงกันข้าม ผู้ใดฉีดวัคซีน
ทางศาสนาเข้าสู่จิตใจมาก ชีวิตก็มีความผ่องแผ้วบริสุทธิ์ ประดุจปุ๋ยที่ช่วยบำรุงชีวิตให้งอกงาม ช่วยบันดาลให้ เป็นอะไรก็ดี มีอะไรก็สวย แม้เมื่อม้วยก็สุข
ดังบทประพันธ์ที่ว่า
อยู่เรือนแคบยังดีไม่มีทุกข์ ดีกว่าคุกตะรางที่กว้างใหญ่
จนก็มีศีลธรรมประจำใจ มีหวังได้สุขาไม่ราคี
อันเงาร่มชายเรือนเหมือนสวรรค์ ต้องเสกสรรให้บริสุทธิ์ศรี
จึงจะอยู่สุขทุกทิวาและราตรี ก็ต้องมีศีลธรรมนำพาไป
จากบทความพระราชธรรมวาที

วันศุกร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2553

อยู่กันด้วยความรัก

ในทางพระพุทธศาสนานั้น พระพุทธเจ้าสอนให้เราถือว่าสัตว์ทั้งหลายเป็นเพื่อนร่วมทุกข์
เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น คือคิดว่า ขอให้สัตว์ทั้งหลายมีความสุขความเจริญ งดเว้นจาก
การคิดเบียดเบียนกัน ริษยากัน พยาบาทอาฆาตจองเวรกัน ไม่มีอารมณ์เกลียด ไม่มีอารมณ์ชังต่อสิ่งใด ๆ
ไม่ว่าคนนั้นจะเป็นคนดี หรือว่าจะเป็นคนเสีย ถ้าเป็นคนดีเราก็ดีใจกับเขา ถ้าเป็นคนเสียเราก็เสียใจกับเขา
แล้วเราตั้งใจไว้ว่าขอให้เขาดีเสียเถิด ขออย่าได้เป็นเช่นนั้นเลย ขอให้พ้นจากความชั่วในชีวิตประจำวัน
กันเสียเถิด
เราอย่าไปโกรธเขา เราอย่าไปเกลียดเขา ให้นึกถึงอกเขาอกเราว่า เราต้องการความสุขอย่างใดเขาก็ต้อง
การความสุขอย่างนั้น เราเกลียดความทุกข์อย่างใด เขาก็เกลียดความทุกข์อย่างนั้น สิ่งใดเราไม่ชอบ
สิ่งนั้นเขาก็ไม่ชอบเหมือนกัน
เวลาเราพบใครเราก็ควรนึกว่า ขอให้คุณเป็นสุขเป็นสุข ขอให้คุณปราศจากความทุกข์ ความเดือดร้อน
ขอให้คุณมีความเจริญก้าวหน้าในชีวิตในการงาน เพียงแต่เราคิดเท่านั้นเราก็สบายใจแล้ว เพราะเป็น
ความคิดที่แผ่เมตตาปรารถนาดีต่อเขา
ถ้าเราคิดให้คนอื่นสบาย เราก็สบาย ถ้าเราคิดให้คนอื่นเดือดร้อน เราก็มีทุกข์เดือดร้อน
ลองพิจารณาตัวท่านเอง ขณะใดที่ท่านเกลียดคนอื่น โกรธคนอื่น ท่านคิดพยาบาทคนอื่น ท่านมีความ
ริษยาต่อคนอื่น ความรู้สึกในใจของท่านเป็นอย่างไร ท่านก็จะรู้ได้ด้วยตัวเอง ว่าใจของท่านร้อนใจของ
ท่านมืดมัว ใจของท่านวุ่นวาย ไม่มีความสงบเกิดขึ้น
เราไม่ควรจะคิดอะไร พูดอะไร ทำอะไร ที่เป็นไปในทางโหดเหี้ยม ดุร้าย แต่ควรจะคิด พูด ทำ แต่ในทาง
ที่เป็นคุณประโยชน์แก่ชีวิตของเรา ของผู้อื่นอย่างแท้จริง ความรักมีความมุ่งหมายอย่างนี้
เราทั้งหลายจึงควรจะอยู่กันด้วยความรัก เลิกโกรธ เลิกเกลียด เลิกอาฆาตพยาบาทจองเวรแก่กันและกัน
ถ้าหากว่าเรามีเรื่องผิดพ้องหมองใจกันกับใคร ๆ อยู่บ้าง เราก็เลิกจากสิ่งนั้น
เรามาคิดสอนตัวเองว่าตั้งแต่โกรธเขา เกลียดเขา พยาบาทจองเวรเขา มันมีอะไรดีขึ้นในชีวิตของเราบ้าง
ไม่เห็นมีอะไรดีขึ้นเลยแม้แต่น้อย แต่ว่าเราต้องมีความทุกข์ทางจิตใจ ต้องหวาดระแวงภัยตลอดเวลา
เพราะกลัวว่าคนนั้นจะมาทำร้ายเรา จะมาเบียดเบียนเรา จะมาสร้างความทุกข์ความเดือดร้อนให้แก่เรา
การเป็นอยู่ในรูปอย่างนั้น มันจะมีความสุขที่ตรงไหน ไม่มีความสุขเลยแม้แต่น้อย เพราะเป็นความคิดที่
เบียดเบียน
ตรงกันข้าม ถ้าเราไม่คิดเบียดเบียนใคร ไม่ทำให้ใครเดือดร้อน เราก็มีความสุขความสบาย ตามพระพุทธ
ภาษิตที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
อัพพะยา ปัชฌัง สุขัง โลเก การไม่เบียดเบียนกันเป็นความสุขในโลก

วันจันทร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2553

ติดแอร์หัวใจ

ปาฐกถาธรรมเรื่อง "สุขทุกฤดู" ของอาตมภาพวันนี้ หวังที่จะเชิญชวนทุกท่านหันมาติดแอร์ให้แก่หัวใจ
มุ่งสลายคลายความร้อน ทั้งร้อนนอกร้อนใน ให้กลับกลายเป็นความร่มเย็นเป็นสุขแก่ทุกท่าน
หากท่านทั้งหลายยินดีพลีหัวใจ ให้ศีลธรรมทางศาสนาได้มีโอกาสชำแรกเข้าไปสมานเยียวยาบ้าง ชีวิต
ก็จะเป็นชีวิตที่สมบูรณ์แบบ มิใช่ภายนอกสดใสแต่ภายในฟอนแฟะ อย่างนี้เห็นทีจะเข้าตำราว่า "มีเกลือแต่ปล่อย
ให้เนื้อเน่า"
เหมือนมีโอสถพิเศษ คือธรรมะ แต่กลับปล่อยให้โรคร้ายคือกิเลสรุมกัดรุมเกาะ ก็ไม่ต่างอะไรกับยาที่อยู่
ในตู้แต่โรคร้ายอยู่ในตัว ซึ่งช่วยอะไรไม่ได้ ไร้ประโยชน์

วันเสาร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2553

โรคฮิต...ติดอันดับ

เป็นที่น่าสังเกตว่าโรคที่บั่นทอนพลานามัยและเป็นภัยต่อสังคมอยู่ขณะนี้มี ๓ โรค เรียกว่า โรค ๓ อ.คือ
โรคอด... ไม่มีจะกินจะใช้
โรคเอดส์... เพราะสำส่อน
โรคอิจฉ์... คือโรคตาร้อนตาลุก เป็นอาการไม่ปกติทางจิตชนิดหนึ่ง คือ อิจฉาริษยา เห็นใครดี ใครเด่น
ใครดังเกินหน้าเกินตาแล้วอดรนทนไม่ไหวทำใจไม่ได้ กลายเป็นคนเจ้าทุกข์ จ้องหาจังหวะที่จะทำลายผู้อื่นให้พินาศ
ด้วยอุบายวิธีต่างๆ ดังคำบาลีที่ว่า "อรติ โลกนาสิกา (อะระติ โลกะนาสิกา) ความริษยายังโลกาให้พินาศ"
นี่แหละที่ท่านเรียกว่าโรค "อิจฉาตาร้อน"

วันศุกร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2553

สุขทุกฤดู

เดือนเมษายนของทุกปี เป็นช่วงที่อุณหภูมิร้อนรุ่มเป็นที่สุด หากร้อนแต่เพียงภายนอก คือ ร้อนกายอันเกิดจากธรรมชาติ
ก็พอทนไหว แต่ถ้าร้อนภายใน คือร้อนใจอันเกิดจากไฟกิเลส ก็เป็นเหตุให้บางคนบางท่าน ถึงกับมีอันเป็นไปต่าง ๆ นานา
เข้าลักษณะว่า "อยู่ร้อนนอนทุกข์" กระสับกระส่ายวุ่นวายทางจิตใจ ถึงกับโรคภัยแทรกแซง
โรคนั้นมี ๒ ชนิด คือ โรคทางกาย กับ โรคทางใจ
ผู้ที่มีทุกข์มีปัญหาทางกาย ก็เพราะถูกโรคภัยเบียดเบียน
ผู้ที่มีทุกข์มีปํญหาทางใจ ก็เพราะถูกกิเลสเบียดเบียน
หากท่านทั้งหลายศึกษาหาทางยับยั้งป้องกันสรรพกิเลสน้อยใหญ่มิให้มีโอกาสแสดงบทบาทหรือประกาศอิทธิพลได้แล้ว
ท่านก็จะพ้นจากสภาพ "อยู่ร้อนนอนทุกข์" หันมา "อยู่สุขเย็นใจ" เมื่อนั้น
จากพระราชธรรมวาที
๑๙ มี.ค. ๕๓

วันพุธที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2553

ทดลอง 2

วันนี้มีภาพสวย ๆ มาฝาก

ทดลอง 2

17 มี.ค. 53 วันนี้ฝนตกแต่เช้า ทำให้อากาศเริ่มเย็นลง ดีใจจังเลย

วันอังคารที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2553

ทอสอบ

Japan Cherry Blossoms

แบบผม

สวัสดีชาวบล็อก

เขย่า ๆ

ทดสอบ

16 มี.ค. 53 เป็นวันแรกที่ผมฝึกทำเว็บบล็อก ไม่ยากอย่างที่คิด เพราะมีครูหนึ่งให้คำปรึกษา